หาดใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3


 

ประวัติส่วนตัว
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ชื่อ นางอังศินันท์  อินทรกำแหง  Mrs.Ungsinun  Intarakamhang   
1.2 ตำแหน่งปัจจุบัน
                1.2.1 ดำรงตำแหน่งวิชาการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  
                            ตำแหน่งบริหาร รองผู้อำนวยสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ฝ่ายจัดการความรู้และกิจการพิเศษ
                1.2.2 สาขาที่ทำวิจัย สาขาพฤติกรรมศาสตร์ สาขาสังคมวิทยาและจิตวิทยา และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
1.3 สถานที่ติดต่อ
                1.3.1 ที่ทำงานปัจจุบัน สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 026495174 โทรสาร 026495182
                E-mail: ungsinun@swu.ac.th
ระดับปริญญาเอก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน) สาขา การศึกษานอกโรงเรียน
2545
ระดับปริญญาโท 
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)มหาวิทยาลัยมหิดล  สาขา สุขศึกษา  
2536
ระดับปริญญาตรี 
พยาบาลศาสตร์บัณฑิต (การพยาบาลและผดุงครรภ์)วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
2531



 3. ประวัติการทำงาน
2531-2532
2532-2536
2537-2546
2547-ปัจจุบัน
  • พยาบาลประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • พยาบาลประจำสถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ
  • วิทยาจารย์ ฝ่ายพัฒนาบุคคล สภากาชาดไทย
  • อาจารย์ ประจำ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์

 4. ตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ
เป็นประธานคณะกรรมการศึกษา โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2547 จนถึงปัจจุบัน
5. สมาคมวิชาการและวิชาชีพ
5.1 สมาชิกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย
5.2 สมาชิกสภาการพยาบาล
5.3 สมาชิกสมาคมนักฝึกอบรมแห่งประเทศไทย
5.4 สมาชิกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
5.5 สมาชิกสมาคมวิชาชีพสุขศึกษาแห่งประเทศไทย
5.5 สมาชิกสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย
 6. ผลงานวิจัยเผยแพร่และบทความ
 6.1 ผลงานวิจัยที่นำเสนอที่ประชุมระดับชาติและนานาชาติ
1.             Ungsinun  Intarakamhang and Tasana Thongpukdee.  (2005) Development of Academic Leadership Competency Model for Faculty Members in Public, Private and Public Autonomous University. Oral Presentation at  Asian Applied  Psychology International Regional Conference  (AAPI –RC) on 14-16 November 2005 at  Bangkok , Thailand.
2.             Ungsinun Intarakamhang and  Ashara Sucaromana. (2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Poster Presentation at  SASP 34th  Annual Conference , Townsville ,Australia on 8-10 April 2005.
3.             Ungsinun Intarakamhang.(2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Poster Presentation at  Asian Applied Psychology International regional Conference (AAPI – RC) on 16 November 2005 at Bangkok, Thailand.
4.             อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2548). การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย.  เสนอในที่ประชุมวิชาการเนื่องในวันสถาปนา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2548    ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
5.             อังศินันท์   อินทรกำแหง. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุมสัมมนาวิชาการในโอกาสครบรอบวันสถาปนา 51 ปีสถาบันสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2549 ณ ห้องประชุมชั้น 8 หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6.             อังศินันท์   อินทรกำแหง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน.นำเสนอโปสเตอร์ในที่ประชุมสัมมนาวิชาการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาบุคคลและสังคม เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ณ ห้องประชุมปฐมบริบท ชั้นล่าง อาคารประสานมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7.             อังศินันท์   อินทรกำแหง.การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุม มศว วิชาการ  วันที่ 8 พฤศจิกายน 2549 ณ ห้องประชุมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8.             อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2550). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.นำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2550 Thailand Research Expo 2007.ภาคนิทรรศการ ในวันที่ 7 -9 กันยายน 2550 ณ เซลทรัลเวร์ด  กรุงเทพฯ.
9.             Ungsinun Intarakamhang. (2007). Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Oral Presentation at the 4th International Postgraduate Research Colloquium “Harnessing Behavioral Science to Promote the Quality of Life”. 20 June 2007 at The research and Continuing Education Hall, Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.  
10.      Ungsinun Intarakamhang. (2007) Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Partnership: Protection:Participation: Annual Conference and AGM 2007 Poster Presentation. 23 August 2007  At University of Waikato, Hamilton, New Zealand.
11.      Ungsinun Intarakamhang.(2010). “Effect of Self Managing Life Crisis based on  the Oriental Approach toward Midlife Crisis and Well-being of Married Thai Woman in Bangkok” Oral Presentation  at  EAOHP   on 29-31 March, 2010  in  Rome, Italy 
12.      อังศินันท์   อินทรกำแหง.สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย.นำเสนอปากเปล่าในที่ประชุม ศรีนครินทรวิโรฒวิชาการครั้งที่ 3 ในวันที่ 22 มกราคม 2552 ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6.2  บทความเผยแพร่ในฐาน TCI(ศูนย์การอ้างอิงวารสารไทยhttp://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html) และฐานอื่น ๆ
                                   1.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2543, มีนาคม-มิถุนายน).  การเรียนรู้ผู้ใหญ่กับการพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กร. วารสารครุศาสตร์, (3):92-104.
             2.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2546, สิงหาคม). การเขียนบทความทางวิชาการ:สำหรับนักเขียนมือใหม่. สารศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย. วันประชุมใหญ่สมาคมศิษย์เก่าฯ ประจำปี 2546.
             3.  อังศินันท์   อินทรกำแหง. (2547, กันยายน ตุลาคม). สมรรถนะจำเป็นของผู้นำทางวิชาการ: การเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารครุศาสตร์, 13 (1), 95-105.
             4.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2547). อิทธิพลของปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ภูมิหลังส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในองค์กรที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์. หนังสือชุดปฏิรูปการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน แนวทางการศึกษาและกิจกรรมที่หลากหลาย.มนัสาสน์ โกวิทยา บรรณาธิการ  ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36-62.
             5.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2548). การวิจัยอนาคต: การศึกษาแนวโน้มบทบาทของ องค์กร. วารสารจิตวิทยา, 12(1),125-140.
             6.  อังศินันท์ อินทรกำแหงและอัจฉรา สุขารมณ์. (กันยายน, 2548). การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 11 (1),1-18.
             7.  อังศินันท์ อินทรกำแหงและทัศนา ทองภักดี. (กันยายน, 2548). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชนและในกำกับของรัฐ.วารสารพฤติกรรมศาสตร์,11(1),51-72.
             8. อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2549,กันยายน). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 12(1),49-71.
             9.  อังศินันท์   อินทรกำแหง อัจฉรา  สุขารมณ์ และอรพินทร์ ชูชม. (2550,กันยายน). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนที่ทำงานในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 13(1),50-65.
             10.  Intarakamhang, U.  (2005). Synthesis of Research Studies in Thailand related to Emotional Intelligence.  Journal of psychology. 57 : Suppl.S 2005.
             11.  Intarakamhang, U. , Raghavan, Chemba  , Choochom, O. ,and Sucaromana, A. (2008, January). Causal Relation Analysis and Indices of Midlife Crisis of Employed, Married Thai Women. Journal of Population and Social Studies,16(2). 71-94.
             12.  Nongnuch Uthaisri, Manat Boonprakob,& Ungsinun Intarakamhang  (2007, September). A synthesis of Thesis on Child-centered Teaching Behaviors Research Summary. The journal of Behavioral Science.2(1),1-9.
             13.  อังศินันท์   อินทรกำแหง. (กุมภาพันธ์,2550). แนวทางการเผชิญและการป้องกันภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคน (ข้อค้นพบจากการวิจัย). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
             14. อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2551,กันยายน). สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1),135-150.
             15.  บังอร ฉางทรัพย์  พรรณี บุญประกอบ มนัส บุญประกอบ และอังศินันท์ อินทรกำแหง (กันยายน, 2551). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการรักษาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่พักอาศัยในชุมชนแออัด : กรณีศึกษาชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1),166-182.
            16.  อังศินันท์ อินทรกำแหง  อรพินทร์ ชูชม  วรสรณ์ เนตรทิพย์   พัชรี ดวงจันทร์. (2552,กันยายน). การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1),28-38.
             17.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(ธันวาคม, 2552). ผลการใช้โปรแกรมการจัดการภาวะวิกฤตชีวิตด้วยตนเองตามแนวตะวันออกที่มีต่อการรับรู้ภาวะวิกฤตชีวิตและความสุขใจของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนในกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนาสังคม, 11(2), 29-59.
             18.  Ungsinun Intarakamhang. (2009,September).  Research Synthesis Concerning Stress and Coping of Thai People. The Journal of Behavioral Science, 4(1), 44-59.
          19. วิริณธิ์ กิตติพิชัย  อังศินันท์ อินทรกำแหง และจุฑามาศ แก้วพิจิตร. (มกราคม, 2553). การประเมินผลหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา (นบอ.) ตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารมหาวิทยาลัยใหม่. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(1), 56-70.
          20.  อังศินันท์  อินทรกำแหง ทัศนา ทองภักดี และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (กรกฎาคม, 2553). ผลการจัดการโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(2), 96-112.
             21.  อรพินทร์  ชูชม อัจฉรา สุขารมณ์ และอังศินันท์  อินทรกำแหง. (กรกฎาคม ,2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว-งานกับคุณภาพชีวิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 16(2), 33-49.
             22.  Intarakamhang, U and Thongpukdee,T . (December, 2010). Effects of Self Managing Life Crisis  Based on the Oriental towards Life Crisis and Well-being of  Married  Women. International Journal of Psychological Studies, 2(2).
6.4   หนังสือ/เอกสาร
                1.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2549). เอกสารประกอบการสอน วป 722 ผู้นำ สมาชิกและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จำนวน  140 หน้า  
                2.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2551). เอกสารคำสอน วป 591 การคิดถูกวิธี .กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. จำนวน  416 หน้า  
                3.  อังศินันท์   อินทรกำแหง.(2552). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 Self ด้วยหลัก PROMISE Model. กรุงเทพฯ: บริษัท สุขขุมวิทการพิมพ์. จำนวน 193 หน้า
7. งานวิจัย/โครงการวิจัย
7.1  ผลงานวิจัยที่ดำเนินการเสร็จแล้ว
1.  การศึกษาบทบาทของสภากาชาดไทยภายในปี พ.ศ.2556        ปี 2542 (เลขาฯ โครงการ)
2.  รายงานการศึกษาโมเดลการพัฒนาดัชนีชี้วัดผลสำเร็จขององค์กร ปี 2545(หัวหน้าโครงการ)
3.  รายงานการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรสภากาชาดไทย 2547 (หัวหน้าโครงการ)
4.  การประมวลและสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับอีคิวในประเทศไทย ปี 2548 (หัวหน้าโครงการ)
5.  การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านผู้นำทาง วิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และในกำกับของรัฐ ปี2549 (หัวหน้าโครงการ)
6.   การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและดัชนีวัดภาวะวิกฤตชีวิตสตรีไทยสมรสวัยกลางคน ที่ทำงานนอกบ้านในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2550(หัวหน้าโครงการ)
7.   การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของเยาวชนไทย ปี 2550
8.   การศึกษา เครื่องชี้วัดและปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางสังคมของพลังปัญญา ของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร ปี 2550
 9.   สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย ปี 2551 (หัวหน้าโครงการ)
10.  การวางระบบมาตรฐานการพัฒนาข้าราชการก่อนปฏิบัติงานราชการ  ปี 2551
11.   การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2551-2552 (หัวหน้าโครงการ)
12.  การประเมินหลักสูตรเสริมสร้างพัฒนาความเข้มแข็งด้านบริหารของมหาวิทยาลัยใหม่ ปี 2552
13.  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ปี 2553
14.  ผลการพัฒนาครูด้านจิตลักษณะและทักษะการสร้างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการอบรมนักเรียนของคร
ูและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นปี2553
15.  ผลการใช้วิธีการจัดการภาวะวิกฤตชีวิตตามแนวตะวันออกที่มีต่อภาวะวิกฤตชีวิตของสตรีไทยสมรสวัยกลางคนในกรุงเทพมหานคร(หัวหน้าโครงการ) ปี2551 -2553 (หัวหน้าโครงการ)
16.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
17.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
18.  การบริหารจัดการและประเมินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพขององค์กรไม่หวังผลกำไรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี2552-2553 (หัวหน้าโครงการ)
19.  การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลภาพรวมและศักยภาพในการบริหารจัดการระบบ HiPPS ของทุกส่วนราชการที่มีข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในรุ่นที่ 1-3  ปี 2553 (หัวหน้าโครงการ)
7.2  งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ
  1.   โครงการบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มโรคเมตาบอลิกของสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ปี2553-2554 (หัวหน้าโครงการ)
บรรณาธิการ
1. บรรณาธิการ วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 กันยายน 2550
2. บรรณาธิการ วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 กันยายน 2551
3. ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสาร ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2552 และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552  ปีที่ 2 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2553 และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553
คำสัมภาษณ์วิทยุ  เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของภาวะวิกฤตสตีไทยสมรสวัยกลางคนในรายการ
             1.  วิทยุ FM 92.2 วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2550 เวลา 20.10 – 20.40 น. ในรายการของมูลนิธิ เครือข่ายครอบครัว  โดยมีพิธีกรคือ คุณรัศมี  มณีดิน
             2.  วิทยุ FM 100.5 อสมท. เนื่องในวันแม่ 12 สิงหาคม 2550 เวลา 09.10 -09.40 น.
             3.  รายการโทรทัศน์ ช่อง UBC 7  Life and New โดยออกรายการสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ ในวันอาทิตย์ที่ 22  กรกฎาคม 2550 เวลา 21.20 -21.30 น. โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกรมสุขภาพจิต   
8. รางวัลวิชาการที่ได้รับ
1.  รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น จากสำนักงานกองทุนวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) ปี 2551
2.  รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2551 รางวัลรายงานการวิจัยระดับชมเชย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
3.  รางวัลเกียรติคุณ  “ต้นไม้ที่เติบโตแห่งการวิจัยนักวิจัยระดับกลาง สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ประจำปี 2553 ให้ไว้ ณ วันที่ 28 เมษายน 2553 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
4.  เกียรติบัตร ยกย่องสรรเสริญ  ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2548 – ปัจจุบัน  ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กันยายน 2552
5.  รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นสาขาการบริหาร  ของสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย ให้ไว้ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2553 
6. เกียรติบัตรเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมแบบบรรยาย ในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระหว่างวันที่ 14 -16 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมรีเจนฮอลิเดย์อิน จ.เพชรบุรี ของ สกว.ร่วมกับ สกอ.
9.   ประสบการณ์ในวิชาที่สอน
                วป 722 ผู้นำ สมาชิกและการพัฒนาองค์การ ระดับปริญญาโทและเอก
                วป 591 การคิดถูกวิธี ระดับปริญญาโทและเอก
                วป 581 การถ่ายทอดทางสังคมกับพัฒนาการของมนุษย์ ระดับปริญญาโท
                วป 791 การบริหารจัดการโครงการ ระดับปริญญาเอก
                วป 884 สัมมนาสังคมศาสตร์เชิงพฤติกรรม ระดับปริญญาเอก
                วป 734 ปรีชาเชิงอารมณ์กับคุณภาพชีวิตและการทำงาน ระดับปริญญาเอก
               วป 803 ปฏิบัติการวิจัย ระดับปริญญาโท
สิ่งที่ประทำใจ
                ท่านเป็นคนมีความรู้มาก  และเป็นคนที่มีความขยันในการทำงานมาก  ยังได้รับรางวัลต่างๆนาน  ถือได้ว่าเป็นคนเก่งคนหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

1.ศึกษาทฤษฎีและหลักการ(เจ้าของทฤษฎี)
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา     ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
    1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของ
เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ 
    1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
    1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
    1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
        เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
      1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
      2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
      3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
          2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี
ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor
จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
           2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
           2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
           2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
           2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
           2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
           2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
           2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
          3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
              3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
              3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
              3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
              3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
               3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
              จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
    ระยะที่ 2  ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎี
มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
              1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
              2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
              3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
        1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
        2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
        3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,
Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
         1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
         2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
         3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
         4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
         5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
              ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
         1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
         2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
         3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
         4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
              ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ค่อนข้างให้อิสระภาพ
        4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
2.  นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
     การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด มนุษยสัมพันธ์

ที่มา  http://www.kru-itth.com/

กิจกรรมที่1

ความหมายของการจัดการชั้นเรียน
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเข้าใจกันว่า การจัดการชั้นเรียน คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการสร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน อีกทั้งต้องคงสภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เพื่อช่วยให้การสอนในชั้นเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนอย่างยั่งยืน
การจัดการชั้นเรียนจึงมีความหมายกว้าง นับตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียนตลอดจนการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้ง
สร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุภาวรรณ : 2552)
    นอกจากนี้แล้วยังมีนักการศึกษาหลายท่านได้กำหนดความหมายของการจัดการชั้นเรียนไปในแนวทางเดียวกัน ดังนี้
โบรฟี (สุภวรรณ : 2551) กล่าวถึงการจัดการชั้นเรียนไว้ว่า หมายถึง การที่ครูสร้างและคงสภาพสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ประสบการผลสำเร็จทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) การสร้างกฎระเบียบและการดำเนินการที่ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการในชั้นเรียน
สุรางค์ โค้วตระกูล (สุภวรรณ : 2551) ได้อธิบายความหมายของการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพว่า หมายถึงการสร้างและการรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียน หรือหมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ครูทำเพื่อจะช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


การบริหารการศึกษา
ความหมายของการบริหารการศึกษา ( Educational Administration )
ความหมายของ การบริหารการศึกษา ( Educational Administration )”  โดยดูจากคำว่าการบริหารการศึกษาซึ่งประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ  คือคำว่า การบริหาร  ( Administration )” และการศึกษา ( Education )”  ดังนั้นจะขอแยกความหมายของคำทั้งสองนี้ก่อน
ความหมายของคำว่าการบริหารมีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างสัก 6 ความหมาย ดังนี้
การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหาร คือ  การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
การบริหาร คือ  กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันดำเนินการ ให้บรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
การบริหาร คือ การใช้ศาสตร์และศิลปะนำทรัพยากรการบริหาร (Administrative resource) มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร ( Process of administration ) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร คือศิลปะในการทำให้สิ่งต่างๆได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จ หมายความว่าผู้บริหารไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานจนเป็นผลสำเร็จตรงตามจุดหมายขององค์การ หรือตรงตามจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
จากความหมายของการบริหารทั้ง 6 ความหมายนี้  พอสรุปได้ว่า  การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
ส่วนความหมายของการศึกษาก็มีผู้ให้ความหมายไว้คล้ายๆกัน ดังนี้
การศึกษา คือ การงอกงาม หรือ การจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน เพื่อผู้เรียนจะได้งอกงามขึ้นตามจุดประสงค์
การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
การศึกษา คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ให้ชีวิต
การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามทุกทางในตัวบุคคล
จากความหมายของการศึกษาข้างบนนี้พอสรุปได้ว่า  การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด  ความสามารถ และความเป็นคนดี
เมื่อนำความหมายของ การบริหารมารวมกับความหมายของ การศึกษาก็จะได้ ความหมายของการบริหารการศึกษาว่า การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดีนั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

ชื่อ นางสาวสุรักขเน สงค์สุภา
ชื่อเล่น เน
การศึกษา จบป6         โรงเรียนวัดท่าแพ
                 จบม3        โรงเรียนโยธินบำรุง
                 จบปวช      โรงเรียนเทคนิคสถาปัตย์นครบริหารธรุกิจ
ปรัชญา     ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ปัจจุบัน     ระดับปริญญาตรี  หลักสตูรสังคมศึกษา  ปี3  คณะครุศาสตร์
                 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช