หาดใหญ่

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้

1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
ได้ทำงานส่งอาจารย์แล้วรู้สึกมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเรื่องที่เราได้เรียนหรือหาเพิ่มเติมในเรื่องนั้นและรู้สึกว่าอาจารย์ได้นำความสะดวกสบายมาให้กับนักศึกษาในด้านการค้นงาน
2.นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้มีความรู้เรื่อง การทำบล็อก  การทำสไลด์โชว์  การลิงค์การนำเสนอไปยังเว็บไซด์อื่นๆ และเกี่ยวกับการสร้างการประเมินในการทำบล็อก
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มีความสะดวกมากในการเรียน เราสามารถเปิดดูงานได้ตลอดเวลา

สอบครั้งที่2

1.Classroom Management การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละเรียน เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไรในช่วงเด็กเพราะเราชอบครูใช่หรือไม่ช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการ
2. Happiness ClassroHappiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4. formal Education
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal educationการศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Education (NFE)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1967 ในการประชุมของ UNESCO เรื่องThe World Educational Crisis ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ หมายถึง “การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก” โดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ
6. E-learningคำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์
7. graded = ผู้สำเร็จการศึกษา
8. Policy education เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มีบทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9. Vision ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ
10. Missionพันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11(GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้อง อยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง หลายองค์กรมีเป้าหมาย แม้กระทั่งแผนดำเนินงานมากมายแต่ไม่ค่อยบรรลุเมื่อลงมือทำการ(Implement)เหตุเพราะว่าขาดการติดตามงาน ไปให้ความสำคัญของเป้าหมายมากกว่าการกระทำ เมื่อถึงปลายปีที่ต้องมาทบทวนเป้าหมาย จึงมักพบว่าไปได้ไม่ถึงไหน เป็นได้แค่เป้าที่สวยหรู
12 (Objective) หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13 Backward Design ก็คือเป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
14 ( Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จุดสำคัญของประสิทธิผลอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตที่ถูกคาดหวังตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และผลผลิตจริงที่มีขึ้นในการนี้ขอยกตัวอย่างกรอบความคิดเรื่องการวัดผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล
15(Efficiency) หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy =ความมัธยัสถ์
17 Equity คือผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ ความเชื่อมั่น คือ Trust ที่สามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่า ในขณะที่ความคาดหวัง คือ Expectation หรือ โอกาสในการขยายเครือข่ายการเติบโตแตกไลน์ของแบรนด์ ความคาดหวังเป็นปัจจัยที่จะบอกให้เรารู้ว่า แบรนด์ของเรามี “Permission” ให้ขยายตัวไปทางไหน ทั้งความเชื่อมั่น และความคาดหวัง (ซึ่งเป็นคำง่ายๆ แต่กว่าจะได้มา ยากแสนยาก) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการสร้างแบรนด์ แบรนด์ไหนก็ตามที่อยากจะรู้ว่าตัวเองมีแบรนด์จริงๆแล้วหรือไม่ ก็ลองถามตัวเองดูว่า แบรนด์เรามีสิ่งที่เรียกว่า Equity แล้วหรือยัง หรือมีแค่ Awareness เท่านั้น ถ้ามีแค่ Awareness คือ มีคนรู้จัก แต่ยังไม่ได้มาซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจ ยังไม่ก่อให้เกิดความคาดหวัง (เพราะคนที่รู้จักยังไม่เคยใช้เลย) ก็แปลว่าคุณยังสร้างแบรนด์ได้ไม่ถึงเป้าหมายสุดท้าย การสร้างแบรนด์วันนี้จะต้องสร้างให้ได้ถึงคำว่า “Equity” หรือพูดง่ายๆว่าต้องมีปัจจัยที่ทำให้แบรนด์เรามีทั้งคุณค่าและมูลค่า
18หรือ Empowerment” หมายถึง การทำให้บุคคลที่ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivat ion) รวมทั้ง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีความสามารถเพียงพอ (Self-efficacy) ที่จะทำงานนั้นสำเร็จ ให้เกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติงาน
19 Engagement นั้น ถ้าจะแปลความแบบง่ายๆ ก็คือ การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร คำว่าผูกพัน (Engage)นั้น กินความหมายลึกซึ้งมากนะครับ มันไม่ใช่แค่เพียงอยากอยู่กับองค์กรเท่านั้น มันยังหมายความรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นกับองค์กรด้วย
20โครงการ (อังกฤษ: project) หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นการผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้
21. activies
22. Leadership
=ความสามารถในการเป็นผู้นำพฤติกรรม = การกระทำใดๆที่คนๆนั้นแสดงออกมาให้คนอื่นได้เห็นและรับรู้ถึงความต้องการ
23. leaders =ผู้นำ. การสร้างอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
24. Follows =การติดตามหลักการออกแบบ ที่รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอยนั้น เป็นระเบียบวิธีการออกแบบที่ถือปฏิบัติอย่างกว้างขวางของสถาปนิกและนักออกแบบ
25. Situations =สถานการณ์
26. Self awareness =การรับรู้ลักษณะเฉพาะของบุคคล
27. Communication = วิธีการติดต่อสื่อสาร สื่อสาร (ดอทคอมย่อมัก) คือการทำงาน, การสื่อสารการกระทำของ, การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการถ่ายทอดสำหรับคนบางคนหมายถึงการใช้และ เทคนิค สำหรับการเผยแพร่ข้อความไปยัง ผู้ชมมากหรือน้อยในวงกว้างและไม่เหมือนกันและการดำเนินการกับใครสักคนข้อมูล ทางธุรกิจและส่งเสริมกิจกรรมต่อสาธารณะ, รักษาภาพพจน์ของมันโดยกระบวนการทางสื่อ
28. Assertiveness = [การ ,ความ]ซึ่งยืนยันอย่างมั่นใจ
29. Time management = ความสามารถในการจัดการค่าจ้าง
30. POSDCoRB =กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders =ผู้นำซึ่งเป็นชุดที่เป็นทางการ
32. Informal Leaders =ผู้นำซึ่งเป็นกันเอง
33. Environment =สภาพแวดล้อม
34. Globalization = โลกาภิวัตน์
33. Competency =ความสามารถสมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการ
ปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น
34. Organization Cultural =ทางวัฒนธรรมองค์กร
35. Individual Behavior = พฤติกรรมบุคคลคือการกระทำของแต่ละบุคคล
36. Group Behavior =พฤติกรรมกลุ่ม
37. Organization Behavior = พฤติกรรมองค์กรองค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้
38. Team working = กลุ่มคนทำงานหรือเล่นกีฬาในกลุ่มเดียวกัน[กำลัง,การ]เป็นผลสำเร็จ
39. Six Thinking Hats =การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
40. Classroom Action Research =การวิจัยอากัปกิริยาห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อสอบ

(1.) Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   จะต้องมีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย  นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียบกัน  รู้ว่าเด็กท่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร  เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
(2.) ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้ หมายถึง       ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
Ø ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
Ø การพัฒนาหลักสูตร
Ø การจัดการเรียนรู้
Ø จิตวิทยาสำหรับครู
Ø การวัดและประเมินผลการศึกษา
Ø การบริหารจัดการในห้องเรียน
Ø การวิจัยทางการศึกษา
Ø นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Ø ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ         ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
Ø การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
Ø การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
Ø ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
Ø ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
Ø มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
Ø พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
Ø พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
Ø จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
Ø รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
Ø ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
Ø ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
Ø ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
Ø แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
Ø สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง    ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
Ø จรรยาบรรณต่อตนเอง
Ø จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
Ø จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
Ø จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
Ø จรรยาบรรณต่อสังคม
(3.) ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
 1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
(4.) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
(5.) ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
     คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
(6.) ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
            โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
            การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
            1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
            2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
            3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
            4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
            5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
            ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
            1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
            2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
            3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
            เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
            นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง


วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ                                                                                 
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา   
แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา                      เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 2,4   เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554    ภาคเรียนที่ 2                ปีการศึกษา 2554
1. สาระสำคัญ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้น
ในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. มาตรฐานการเรียนรู้
1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ส 1.3.1 รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิก และสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว ชุมชนและประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3.2 ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือ และร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจ
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ ความเข้าใจ บอกความหมาย เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญ ๆและปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ด้วยความศรัทธาและถูกต้องเหมาะสม
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา
6. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                  1. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี
                  2. ด้านสังคม ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อกัน และมีความสามัคคี ทั้งใน
ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
7. สาระการเรียนรู้
วันสำคัญทางศาสนา
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 -3 คน และอ่อน 1 คน ครูแนะนำการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power pointโดยนักเรียนต้องร่วมมือกัน และต้องดูแลช่วยเหลือกันในการเปิดบทเรียน อ่านและเรียนรู้ร่วมกัน ใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 เครื่อง คนที่เก่งจะเปิดบทเรียนอิเรคทรอนิค นักเรียนในกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันโดยอ่านเนื้อหาและฟังบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับวันแต่ละวัน จบตอนแต่ละช่วงวันสำคัญ แต่ละวันหยุดอภิปรายแสดงความคิดเห็น ครูคอยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนรายบุคคล และพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
6. ครูชี้แนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวันมีความสำคัญอย่างไร วันสำคัญมีอะไรที่เป็นปรากฏการณ์ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้
7. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power point โดยครูเสริมข้อคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจทั้งในครอบครัว และสังคม
8.นักเรียนดูภาพประกอบ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา แล้วร่วมสนทนาซักถามอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติมภาพที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา
9. แจกใบงานที่ 1 เรื่องวันสำคัญทางศาสนา นักเรียนทำใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานแต่ละคนแต่ละกลุ่มและคอยให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถามของนักเรียน
10. ครูแจกใบงานที่ 2 พร้อมกับให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับภาพว่านักเรียนคนใดเคยได้ปฏิบัติตามภาพ ที่นักเรียนได้เห็นบ้าง
11. ตรวจผลงานร่วมกัน ครูชี้แนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีกรรมในแต่ละวัน ของวันสำคัญทางศาสนาพร้อมสรุปข้อที่ควรปฏิบัติกับวันสำคัญ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และแนะนำการเรียนในครั้งต่อไป
ชั่วโมงที่ 2 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2 ทบทวนความรู้เดิมจากการเรียนบทเรียนอิเรคโทนิค โดยใช้โปรแกรมpower point ในชั่วโมงที่ผ่านมา
3. ดูภาพและสนทนากับนักเรียน ในเรื่องเกี่ยวกับการไปร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาที่วัดในชุมชน เมื่อครั้งที่ผ่านมาว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนั้นอย่างไร และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะมีขึ้นต่อจากนี้คือวันใด
4. แบ่งนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม คละความสามารถ ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกผู้ทำหน้าที่ประธาน รองประธานและเลขานุการ ศึกษาจากใบความรู้ ตั้งชื่อกลุ่มในแต่ละกลุ่มและทำกิจกรรมตามใบงานกำหนด โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวันสำคัญดังนี้
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
5.สมาชิกในกลุ่มได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาสมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
5.1 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ใบงานกำหนด
5.2 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจเนื้อหาที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของวันสำคัญทั้งหมด
5.3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของ ทุกคนในกลุ่ม บ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวปฏิบัติตน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเน้นการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ โดยนำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวปฏิบัติ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ให้ ตระหนักถึงคุณค่าของความสำคัญกับการรักษาศีล และปลูกฝังความสามัคคี เสียสละ สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ชุมชนวัด และปฏิบัติตน ในแนวทางที่ดี และในวันสำคัญต่างๆ ครูนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมที่วัด เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้เกิดขึ้นและนักเรียนทำแบบฝึกหัดจากใบงานและเขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควร ปฏิบัติในวันสำคัญ
7. ทำข้อทดสอบหลังเรียน
8. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
6. ห้องสมุดโรงเรียนวัดต้นชุมแสง
7. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
9. การวัดผลและประเมินผล
9.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
1. การตรวจใบงาน
2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
9.2 เครื่องมือวัด
1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
9.3 การประเมินผล
1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
ผ่านเกณฑ์       นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ไม่ผ่านเกณฑ์   นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50
10. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนควรไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทย ทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่นำความรู้จากวันสำคัญทางศาสนา มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยถามจากผู้รู้และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุด