หาดใหญ่

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ                                                                                 
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้  หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ  มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว  หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา   
แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา                      เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 2,4   เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554    ภาคเรียนที่ 2                ปีการศึกษา 2554
1. สาระสำคัญ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้น
ในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. มาตรฐานการเรียนรู้
1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ส 1.3.1 รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิก และสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว ชุมชนและประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3.2 ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือ และร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจ
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ ความเข้าใจ บอกความหมาย เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญ ๆและปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ด้วยความศรัทธาและถูกต้องเหมาะสม
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
2. ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา
6. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
                  1. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี
                  2. ด้านสังคม ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อกัน และมีความสามัคคี ทั้งใน
ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
7. สาระการเรียนรู้
วันสำคัญทางศาสนา
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 -3 คน และอ่อน 1 คน ครูแนะนำการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power pointโดยนักเรียนต้องร่วมมือกัน และต้องดูแลช่วยเหลือกันในการเปิดบทเรียน อ่านและเรียนรู้ร่วมกัน ใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มละ 1 เครื่อง คนที่เก่งจะเปิดบทเรียนอิเรคทรอนิค นักเรียนในกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันโดยอ่านเนื้อหาและฟังบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับวันแต่ละวัน จบตอนแต่ละช่วงวันสำคัญ แต่ละวันหยุดอภิปรายแสดงความคิดเห็น ครูคอยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนรายบุคคล และพฤติกรรมการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม
6. ครูชี้แนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวันมีความสำคัญอย่างไร วันสำคัญมีอะไรที่เป็นปรากฏการณ์ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้
7. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนรู้บทเรียนอิเรคทรอนิค โดยใช้โปรแกรม power point โดยครูเสริมข้อคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจทั้งในครอบครัว และสังคม
8.นักเรียนดูภาพประกอบ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา แล้วร่วมสนทนาซักถามอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติมภาพที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา
9. แจกใบงานที่ 1 เรื่องวันสำคัญทางศาสนา นักเรียนทำใบงาน ครูสังเกตพฤติกรรมการทำงานแต่ละคนแต่ละกลุ่มและคอยให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถามของนักเรียน
10. ครูแจกใบงานที่ 2 พร้อมกับให้นักเรียนสรุปเกี่ยวกับภาพว่านักเรียนคนใดเคยได้ปฏิบัติตามภาพ ที่นักเรียนได้เห็นบ้าง
11. ตรวจผลงานร่วมกัน ครูชี้แนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับพิธีกรรมในแต่ละวัน ของวันสำคัญทางศาสนาพร้อมสรุปข้อที่ควรปฏิบัติกับวันสำคัญ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และแนะนำการเรียนในครั้งต่อไป
ชั่วโมงที่ 2 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์
1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
2 ทบทวนความรู้เดิมจากการเรียนบทเรียนอิเรคโทนิค โดยใช้โปรแกรมpower point ในชั่วโมงที่ผ่านมา
3. ดูภาพและสนทนากับนักเรียน ในเรื่องเกี่ยวกับการไปร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาที่วัดในชุมชน เมื่อครั้งที่ผ่านมาว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนั้นอย่างไร และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่จะมีขึ้นต่อจากนี้คือวันใด
4. แบ่งนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม คละความสามารถ ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกผู้ทำหน้าที่ประธาน รองประธานและเลขานุการ ศึกษาจากใบความรู้ ตั้งชื่อกลุ่มในแต่ละกลุ่มและทำกิจกรรมตามใบงานกำหนด โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวันสำคัญดังนี้
- วันมาฆบูชา - วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา - วันอาสาฬหบูชา
- วันธรรมสวนะ
5.สมาชิกในกลุ่มได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาสมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
5.1 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ใบงานกำหนด
5.2 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่มให้เข้าใจเนื้อหาที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของวันสำคัญทั้งหมด
5.3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของ ทุกคนในกลุ่ม บ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล
6. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปแนวปฏิบัติตน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเน้นการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ โดยนำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวปฏิบัติ ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ให้ ตระหนักถึงคุณค่าของความสำคัญกับการรักษาศีล และปลูกฝังความสามัคคี เสียสละ สร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม ชุมชนวัด และปฏิบัติตน ในแนวทางที่ดี และในวันสำคัญต่างๆ ครูนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมที่วัด เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้เกิดขึ้นและนักเรียนทำแบบฝึกหัดจากใบงานและเขียนแผนผังความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควร ปฏิบัติในวันสำคัญ
7. ทำข้อทดสอบหลังเรียน
8. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
5. แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
6. ห้องสมุดโรงเรียนวัดต้นชุมแสง
7. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
9. การวัดผลและประเมินผล
9.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
1. การตรวจใบงาน
2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
9.2 เครื่องมือวัด
1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
9.3 การประเมินผล
1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
ผ่านเกณฑ์       นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ไม่ผ่านเกณฑ์   นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50
10. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนควรไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทย ทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่นำความรู้จากวันสำคัญทางศาสนา มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยถามจากผู้รู้และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุด

กิจกรรมที่10

กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่แผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ยึดแนวสันปันน้ำอันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า ปราสาทพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและบริเวณรอบๆ ว่าเป็นส่วนของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยืนต่อศาลระหว่างประเทศยืนยันที่จะยึดแนวเส้นเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง                                                                                                                                                                                      กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย                                                                                                                                                                                                               นายกษิต ภิรมย์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่   แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้ นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า: คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆเป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า: ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
กรณี MOU43                                                                                                                                      นายชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน     สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ       ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าวว่ากองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร
กรณี คนไทย 7 คน                                                                                                                           สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย    โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง   โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว    ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่9

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ

1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความร ู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ

คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความสามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ หรือ
ทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือ
สามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็นตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่
ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคน แต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่ง
สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจรัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ" คือมี
ความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

ในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิ
บาท 4 ซึ่งประกอบด้วย
1.ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งนั้น ในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็น
อันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
2.วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม เมื่อครูพึงพอใจ สนใจ เอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
3.จิตตะ คือ ความตั้งใจจริง เอาใจใส่ฝึกฝน เพื่อเป้าหมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนได้ ถ้ามีความตั้งใจจริง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อเป็นแนว
ทางมีมากมาย
4.วิมังสา คือ ความหมั่นติตรอง พิจารณา เหตุผลในสิ่งนั้น ใน ขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะข้อมูล
ต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย
1. พัฒนาการรู้จักตนเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าครูมีความเข้าใจและยอมรับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจและ
ยอมรับผู้อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. ค้นหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสอน ถ้าพบว่า วิธีการต่าง ๆ ที่ เป็นที่นิยมใช้กันนั้นไม่เหมาะสมกับตนเอง ครูควร
จะค้นหาวิธีใหม่ ๆ มาใช้ ให้เหมาะกับตนเอง
3. หมั่นตรวจสอบ สิ่งที่ตนเองไม่พึงพอใจ
4. ประเมินภาระงานใหม่ ทั้งหมดโดยพยายามขจัดหรือลดภาระงานที่มากเกินไปที่ทำให้เกิดความเครียด
5.ขอคำแนะนำจากผู้อื่นเช่น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมุมมองในการแก้ ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป
6. แสวงหาประสบการณ์ใหม่ที่นอกเหนือจากการสอน เช่น หางานอดิเรกทำ ทำงานพิเศษช่วงฤดูร้อน เข้ารับการ
สัมมนาในหัวข้อที่สนใจ เป็นต้น
7. แสวงหาความพึงพอใจจากที่อื่น ๆ เมื่อรู้สึกว่าบรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อความสุขของตนเอง เช่น การรับเชิญ
ไปเป็นวิทยากรพิเศษ หรือการรับเชิญไปสอนพิเศษตามสถาบันต่าง ๆ เป็นต้น
8. พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการระบายความเครียดได้
9. ออกกำลังกายเมื่อเกิดความเครียด ทั้งนี้จะได้ประโยชน์โดยการผ่อนคลาย
10.โปรดอย่านำความเครียดมาระบายในชั้นเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านำความเครียดมาระบายกับผู้เรียน
11.ถ้าท่านมีความเครียดมาก จนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองโปรดขอคำแนะนำจากจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
จะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร
1 ปฏิบัติตาม
2 ทำให้เป็นนิสัย